05 : จบศิลป์ภาษาทำอะไรได้บ้าง

 


1.คณะ

 รวมคณะน่าสนใจที่เด็กสายศิลป์เลือกเรียนได้

1. คณะเศรษฐศาสตร์

2. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

3. คณะบริหารธุรกิจ

4. คณะนิติศาสตร์

5. คณะรัฐศาสตร์

6. คณะวิทยาการจัดการ

7. คณะสังคมศาสตร์

8. คณะอักษรศาสตร์

9. คณะศึกษาศาสตร์

10. คณะศิลปศาสตร์

11. คณะนิเทศศาสตร์

12. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

13. คณะมนุษยศาสตร์

14. คณะเกษตร

15. คณะจิตวิทยา

16. คณะโบราณคดี

17. คณะโลจิสติกส์

18. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

19. คณะสถาปัตกรรมศาสตร์

20. คณะศิลปกรรมศาสตร์

21. คณะมัณฑนศิลป์

22. คณะจิตรกรรม

23. คณะดุริยางคศาสตร์

24. คณะวิจิตรศิลป์

 

2. อาชีพ

เรียนจบแล้วประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง

1. กลุ่มคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์

          นักบัญชี, ครู อาจารย์, นักธุรกิจ, นักการตลาด, นักการธนาคารและนักลงทุน, นักเศรษฐศาสตร์, ทนายความ, อัยการ, ผู้พิพากษา, ล่าม, นักเขียน, นักแปล, นักภาษาศาสตร์, นักสื่อสารมวลชน, นักออกแบบโฆษณา, ผู้กำกับ, นักวิชาการ, นักการทูต, นักปกครอง, นักโบราณคดี, มัคคุเทศก์, ผู้ตรวจสอบบัญชี, ประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น

 


2. กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          โปรแกรมเมอร์, นักเทคโนโลยีสารสนเทศ, นักออกแบบเว็บไซต์, นักพัฒนาเกม, ทำธุรกิจด้านไอที, อาจารย์ เป็นต้น

 


3. กลุ่มคณะศิลปกรรม

          สถาปนิก, อินทีเรียร์, ดีไซเนอร์, มัณฑนากร, จิตรกร, อาจารย์, นักดนตรี, กราฟิกดีไซน์ เป็นต้น



3. รวมการสอบตลอดชีวิตมัธยม


O-NET (Ordinary National Educational Test)

    คือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียน ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 51 มาตรฐานการเรียนรู้ ครอบคลุม 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้

สอบอะไรบ้าง?
ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, ภาษาอังกฤษ

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และที่สำคัญกับน้องๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ต้องใช้คะแนน O-NET เป็นส่วนหนึ่งในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย 


GAT

    GAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ มี 2 ส่วน

สอบอะไรบ้าง?
ส่วนที่ 1 คือ ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา
ส่วนที่ 2 คือ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย Speaking and Conversation, Vocabulary, Structure and Writing, Reading Comprehension

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
น้องๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จะยื่นสมัคร TCAS ตั้งแต่รอบที่ 2 เป็นต้นไป
 


PAT
PAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จ

สอบอะไรบ้าง?
PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
น้องๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จะยื่นสมัคร TCAS ตั้งแต่รอบที่ 2 เป็นต้นไป โดยไม่จำเป็นต้องสอบทั้งหมดทุกวิชา แต่เลือกสอบวิชาตามเกณฑ์การรับแต่ละสาขาของมหาวิทยาลัยที่น้องๆ ต้องการจะเรียนก็พอ



9 วิชาสามัญ

    ข้อสอบกลางที่จัดสอบโดย สทศ. เพื่อใช้ในการรับตรงเข้ามหาวิทยาลัย  แต่เดิมจะสอบเพียง 7 วิชา แต่เพื่อให้ครอบคลุมกับเนื้อหาของสายศิลป์ จึงเพิ่มอีก 2 วิชาเข้าไป รวมเป็น 9 วิชา

สอบอะไรบ้าง?
1.วิชาภาษาไทย
2.วิชาสังคมศึกษา
3.วิชาภาษาอังกฤษ
4.วิชาคณิตศาสตร์ 1
5.วิชาฟิสิกส์
6.วิชาเคมี
6.วิชาชีววิทยา
8.วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์)
9.วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์)

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
วิชาสามัญนี้สามารถสอบได้ทั้งน้องๆ สายวิทย์ และสายศิลป์ โดยไม่จำเป็นต้องสอบทั้ง 9 วิชา แต่เลือกสอบวิชาตามเกณฑ์การรับแต่ละสาขาของมหาวิทยาลัยที่น้องๆ ต้องการจะเรียนก็พอ



วิชาความถนัดแพทย์

วิชาเฉพาะ หรือ วิชาความถนัดแพทย์ คือวิชาที่สมัครสอบพร้อมสมัคร กสพท. ใช้เป็นสัดส่วนทั้งหมด 30%

สอบอะไรบ้าง?
ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1.1 เชาว์ปัญญา เช่น คณิตศาสตร์ อนุกรมเลข อนุกรมภาพ การอ่านจับใจความ เป็นต้น
1.2 จริยธรรมทางการแพทย์ ซึ่งไม่มีสอนในห้องเรียน
1.3 ทักษะการเชื่อมโยง คล้ายๆกับ GAT ที่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้างนะคะ

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
น้องๆ ที่ต้องการยื่นสมัคร กสพท. ใน TCAS รอบที่ 3 จะต้องได้สอบในวิชาความถนัดแพทย์ ซึ่งสัดส่วนคะแนนถือเป็นวิชาที่มีค่าน้ำหนักสูงที่สุด น้องจึงต้องวางแผนและเตรียมตัวให้ดี
 


BMAT
    BMAT ย่อมาจาก Biomedical admission test เป็นข้อสอบเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในสาขาการแพทย์ สัตวแพทย์ ซึ่งจัดทำโดย Cambridge Assessment แห่งสหราชอาณาจักร สรุปง่ายๆก็คือข้อสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรนั่นเอง 
    แต่สาเหตุที่มีการพูดถึงในไทยบ่อยครั้งในช่วงนี้เพราะหลักสูตรทางด้านการแพทย์ในไทย ตกลงจะใช้ข้อสอบ BMAT ในการรับนักศึกษาแพทย์ใหม่ เช่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CICM) ซึ่งเป็นหลักสูตรแพทยศาสตร์ “อินเตอร์” ประกาศว่านักศึกษาใหม่จะต้องผ่านการสอบ BMAT ทุกคน หรือคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ยินดีรับผล BMAT เช่นกัน

สอบอะไรบ้าง?
การสอบ BMAT ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 ความถนัด และทักษะ 60 นาที (ข้อสอบปรนัย)
ส่วนที่ 2 ความรู้และการประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์ 30 นาที (ข้อสอบปรนัย)
ส่วนที่ 3 งานเขียน 30 นาที (ข้อสอบบรรยาย)

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
น้องๆ ที่ต้องการเข้าเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพในประเทศไทย ควรเช็คให้ดีว่าในแต่ละรอบที่มีการเปิดรับในระบบ TCAS ต้องใช้คะแนน BMAT หรือไม่ และน้องๆ ที่ต้องการเรียนในสาขา การแพทย์ สัตวแพทย์ ของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร
 


SAT

    SAT หรือ Scholastic Assessment Tests คือ ข้อสอบมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงบางหลักสูตรในเมืองไทยใช้ประกอบการสมัครเข้าเรียนระดับปริญญาตรี เพียงแต่ไม่ได้วัดที่ความรู้วิชาต่างๆ แต่เป็นการวัดทักษะ (Skills) การใช้เหตุผล เหมือนข้อสอบความถนัดทั่วไป

สอบอะไรบ้าง?
SAT ประกอบด้วยข้อสอบ 3 ส่วนได้แก่ Critical Reading, Mathematics, และ Writing

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
น้องๆ ที่สนใจจะสมัคร TCAS รอบที่ 1 บางโครงการ และหลักสูตรนานาชาติในรอบอื่นๆ
 


SAT II

เป็นข้อสอบที่ใช้สอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอินเตอร์ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

สอบอะไรบ้าง?
AT II แบ่งเป็น 3 วิชา คือ เคมี ฟิสิกส์ และชีววิทยา

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
น้องๆ ที่สนใจจะสมัครหลักสูตรนานาชาติ
 


ACT

    ACT หรือ American College Testing เป็นการสอบวัดระดับทักษะการใช้เหตุผลและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับการเรียนในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย

สอบอะไรบ้าง?
เป็นการวัดทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการศึกษาในระดับ มหาวิทยาลัย ข้อสอบ ACT มีคะแนนเต็มทั้งสิ้น 36 คะแนน จากการสอบทั้งหมด 5 ส่วนดังต่อไปนี้ 1) English  2) Mathematics  3) Reading  4) Science Reasoning  5) Writing

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
เป็นการวัดทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการศึกษาในระดับ มหาวิทยาลัย แต่โดยทั่วไปแล้ว ผลสอบ ACT ยังไม่เป็นที่ยอมรับแพร่หลายเหมือนกับผลสอบ SAT ซึ่งเป็นที่ยอมรับในเกือบทุกหลักสูตร
 


TOEFL

    TOEFL หรือ Test of English as a Foreign Language เป็นการทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของภาษาอังกฤษอเมริกัน ซึ่งมีการออกแบบสำหรับใช้ในการประเมินความสามารถทางภาษาของผู้สมัคร เพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในเรื่องของการศึกษาต่อ หรือทำงานในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร โดยผลคะแนนโทเฟลจะใช้ได้เป็นระยะเวลา 2 ปี

สอบอะไรบ้าง?
TOEFL จะทดสอบทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การพูด (Speaking) การฟัง (Listening) การอ่าน (Reading) และการเขียน (Writing) และในครั้งจะต้องผสมผสานทักษะต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการตอบคำถาม โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่งสำหรับการสอบ ซึ่งคุณสามารถเลือกการสอบได้ทั้ง Internet-based Test (iBT) หรือ Paper-based Test (PBT) ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่มีให้ที่ศูนย์ทดสอบ

TOEFL Internet-based Test (iBT) ประเมินความสามารถของคุณในการอ่าน ฟัง พูด และเขียนภาษาอังกฤษและใช้ทักษะเหล่านี้ร่วม กันในชั้นเรียนมหาวิทยาลัย เช่น คุณอาจอ่าน หรือฟังบรรยาย แล้วเขียนหรือพูดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้

TOEFL Paper-based Test (PBT) ประเมินความสามารถของคุณในการอ่าน ฟัง และเขียนภาษาอังกฤษ


ใครบ้างที่ต้องสอบ?
หลายคณะจะมีเกณฑ์กำหนดให้น้องๆ ต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ เพื่อยื่นรับตรงโดยเฉพาะในระบบ TCAS รอบที่ 1 (บางคณะให้เลือกสอบได้ระหว่าง TOEFL หรือ IELTS ) และหากน้องๆ คนไหนต้องการไปเรียนต่อในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ก็ต้องใช้คะแนน TOEFL iBT เช่นกัน
 


IELTS
    
    International English Language Testing System (IELTS) เป็นการสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยในปีที่ผ่านมามีผู้เข้าสอบมากกว่า 2.7 ล้านคน ผลสอบ IELTS เป็นที่ยอมรับในมากกว่า 9,000 องค์กร ซึ่งได้แก่ สถานศึกษา บริษัทนายจ้าง องค์กรทางวิชาชีพ และรัฐบาล ใน 140 ประเทศทั่วโลก เนื้อหาในการสอบ IELTS ได้รับการพัฒนาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติและมีการวิจัยอย่างครอบคลุมเพื่อให้การสอบมีความยุติธรรมและเป็นกลางสำหรับผู้สมัครทุกคน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ภูมิหลัง เพศ วิถีการดำเนินชีวิต หรือสถานที่อยู่

สอบอะไรบ้าง?
เป็นการสอบวัดทักษะทางภาษาทั้งสี่ด้านและมีด้วยกันสี่หมวด ได้แก่ การฟัง การอ่าน การเขียน และการพูด คุณจะต้องสอบการฟัง การอ่าน และการเขียนในวันเดียวกันทั้งหมดโดยไม่มีการหยุดพักระหว่างการสอบ ส่วนการพูดอาจสอบในวันเดียวกันกับการสอบอีกสามทักษะ หรือภายในเจ็ดวันก่อนหรือหลังจากนั้น แล้วแต่ทางศูนย์สอบจะกำหนด โดยการสอบทั้งหมดจะใช้เวลาไม่เกินสามชั่วโมง

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
หลายคณะจะมีเกณฑ์กำหนดให้น้องๆ ต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ เพื่อยื่นรับตรงโดยเฉพาะในระบบ TCAS รอบที่ 1 (บางคณะให้เลือกสอบได้ระหว่าง TOEFL หรือ IELTS )
 


HSK

    HSK ย่อมาจากตัวสะกดเสียงพินอินของภาษาจีนว่า “Hanyu Shuiping Kaoshi” ซึ่งหมายถึง การสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาจีน สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาแม่ การสอบนี้จัดขึ้นโดย The Office of Chinese Language Council International: HANBAN ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ที่มีผลคะแนนสอบสูงสุดในแต่ละระดับของศูนย์สอบจะได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลจีน ในการเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศจีนเป็นประจำทุกปี

สอบอะไรบ้าง?
การสอบ HSK แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. ระดับพื้นฐาน (HSK: Basic) สำหรับผู้ที่ผ่านหลักสูตรการเรียนภาษาจีนมาแล้วราว 100 - 800 ชั่วโมง มีความรู้ในคำศัพท์พื้นฐาน 400 - 3,000 คำ และเข้าใจถึงหลักไวยากรณ์โครงสร้างประโยคขั้นพื้นฐาน
2. ระดับต้น และกลาง (HSK: Elementary and intermediate) คือ ระดับผู้ที่ผ่านหลักสูตรการเรียนภาษาจีนราว 400 - 2,000 ชั่วโมง มีความรู้ในคำศัพท์พื้นฐาน 2,000 - 5,000 คำ
3. ระดับสูง (HSK: Advanced) คือ ระดับผู้ที่ผ่านหลักสูตรการเรียนภาษาจีนมาแล้ว ตั้งแต่ 3,000 คาบขึ้นไป มีความรู้ในศัพท์กว่า 5,000 คำ เข้าใจไวยากรณ์โครงสร้างทางภาษาในรูปประโยคที่ซับซ้อน

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
น้องที่ต้องการไปเรียนต่อในประเทศจีนสามารถใช้ ประกาศนียบัตรผลสอบเป็นเอกสารประกอบการศึกษาต่อ
 


JLPT

    การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (Japanese Language Proficiency Test : JLPT) มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของชาวต่างชาติผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นการสอบภายในประเทศญี่ปุ่นจัดโดยสมาคมสนับสนุนการศึกษานานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น(JEES)โดยจัดสอบในหลายจังหวัดที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนนอกประเทศญี่ปุ่นนั้น มูลนิธิญี่ปุ่น (Japan Foundation) เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสอบ แบ่งผลการสอบออกเป็น 5 ระดับ และจัดสอบปีละ 2 ครั้ง ในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม และเดือนธันวาคม

สอบอะไรบ้าง?
เป็นการวัดความสามารถทางทักษะแต่ละด้านและความสามารถด้านการสื่อสารการสอบนี้จะวัดความสามารถในการใช้ภาษาของผู้เรียนในสถานการณ์จริง วิชาที่สอบ แบ่งออกเป็น 2 วิชา คือ

1. 読む試験(よむしけん)เป็นการสอบ " 文字(もじ)・語彙(ごい)" และ  "文法(ぶんぽう)・読解(どっかい)"
2. 聞く試験(きくしけん)เป็นการสอบ " 聴解(ちょうかい ) "

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
น้องๆ ที่ต้องการไปเรียนต่อในประเทศญี่ปุ่นโดยการรับทุน จำเป็นต้องสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น
 


TOPIK

    TOPIK ย่อมาจาก Test Of Proficiency In Korean เป็นการทดสอบความสามารถทางภาษาเกาหลีของชาวต่างชาติ โดยเป็นการสอบเพื่อวัดพื้นฐาน หรือความสามารถทางภาษาเกาหลีของผู้ที่ไม่ใช้ภาษาเกาหลีเป็นพื้นฐาน ชาวเกาหลีที่อยู่ต่างแดน ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศเกาหลี ผู้เรียนภาษาเกาหลี นักเรียนต่างชาติที่สนใจเรียนที่เกาหลี บุคคลที่สนใจทำงานในประเทศ หรือต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเทศเกาหลี

สอบอะไรบ้าง?
TOPIK แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. การทดสอบความสามารถทางภาษาเกาหลีทั่วไป (The Standard TOPIK) เป็นการสอบเพื่อวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาเกาหลีทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน ที่จำเป็นต่อความเข้าใจถึงวัฒนธรรมเกาหลีและการศึกษาต่อเป็นต้น หรือที่ในหมู่นักเรียนที่เรียนภาษาเกาหลีเรียกกันว่าการสอบ “กึบ” หรือ ระดับนั่นเอง ผู้เข้าสอบสามารถเลือกเข้าสอบตามระดับชั้นที่เหมาะสมกับความสามารถของตนโดยจะมีการเปิดให้สมัครสอบ 3 ช่วงชั้นด้วยกัน คือ ชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง

2. การทดสอบความสามารถทางภาษาเกาหลีเชิงธุรกิจ (The Business TOPIK) เป็นการสอบเพื่อวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาเกาหลี เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันและที่จำเป็นต่อการทำงานในสถานประกอบการเกาหลี ซึ่งจัดทำขึ้นสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะทำงานในประเทศเกาหลี การสอบ TOPIK ประเภทนี้ไม่มีการให้เกรดว่ามีความสามารถทางภาษาอยู่ในระดับใด หรือการประเมินผลว่าสอบตก – สอบผ่านใดๆทั้งสิ้น มีเพียงแต่การตรวจให้คะแนน และให้ผู้สอบนำผลคะแนนไปใช้ในการสมัครงานเท่านั้น โดยคะแนนเต็มของการสอบ TOPIK ประเภทนี้ คือ 400 คะแนน

ใครบ้างที่ต้องสอบ?
TOPIK มีผลระดับน่าเชื่อถือสูงสุดในการสอบเพื่อเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย น้องๆ ที่ต้องการไปเรียนต่อในประเทศเกาหลี จึงจำเป็นต้องสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาเกาหลี



    นอกจากนี้ ก็ยังมีการสอบทุนต่อต่างประเทศต่างๆ หรือสอบอะไรอีกมากมาย ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง อย่างไรก็ตาม ทุกท่านไม่ต้องกลัวไปนะคะ ถึงแม้ว่าศิลป์ภาษาจะมีคณะที่สามารถเลือกได้น้อยกว่าสายวิทย์-คณิต แต่ขอรับประกันเลยค่ะว่าจริงๆแล้วเรามีทางเลือกในการเรียนหรือการทำงานเยอะมาก ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ขอแค่พัฒนาตนเองต่อไป มีงานทำแน่ๆค่ะ💖



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :

https://www.trueplookpanya.com/tcas/article/detail/78571

 https://www.admissionpremium.com/content/2942

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

09: เรียนภาษากับเกม Genshin Impact